วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

1. คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณืประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์
 1. มีความเร็วในการทำงานสูง
 2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
 3. มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั้งงานและข้อมูลที่ใช้
 4. เก็บข้อมูลได้มาก
 5. สามารถย้ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว


2. ประวัติคอมพิวเตอร์
 ใน ท้ายที่สุด หากจะจำแนกประวัติคอมพิวเตอร์ตามยุคของคอมพิวเตอร์(Computer generations) โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องและเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล ก็สามารถจะจัดแบ่งตามวิวัฒนาการได้ 4 ยุคด้วยกัน คือ

    ยุคแรกเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบบัตรเจาะรู

    ยุคที่สอง เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบเทป ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ(Sequential Processing)

    ยุคที่สาม เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของไอซี(integrated circuit, IC) และการเก็บข้อมูลเป็นแบบจานแม่เหล็ก ลักษณะเป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming) และออนไลน์(on-line)

    ยุคที่สี่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ (Large-scale integration, LSI) ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor ) กล่าวได้ว่าเป็น "Computer on a chip" ในยุคนี้ 



3. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์เเบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ได้เเก่
1.ซอร์ฟเเวร์ หมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถเเตะต้องได้อาจจะเป็นโปรเเกรมต่างๆเป็นต้น
2.ฮาร์ดเเวร์  หมายถึง สิ่งที่เเต่ะต้องได้ เช่น ลำโพง จอคอมฯ ซีพียู
3.พีพอลเวร์  หมายถึง ผู้ใช้คอม ซ่อมคอม


4. ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 1. ฮาร์ดแวร์
 2. ซอฟต์แวร์
 3. ข้อมูล
 4. บุคลากร

5. ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ประกอบด้วย 4 ส่วนดังนี้
  1. ส่วนประมวลผล
  2. ส่วนความจำ
  3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
  4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6. ซีพียู มีหน้าที่หลักในการควบคุใการทำงานของคอมพิวเตอร์

7ROM ส่วนความจำแบบถาวร หมายถึงส่วนความจำทีนำข้อมูลออกมาใช้งานเพียงอย่างเดียวได้มีการบันทึก ข้อมูลไว้ล่วงหน้าแล้วเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า ในปัจจุบันเปิดโอกาสให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้
ram หน่วยความจำชั่วคราวจะคงอยู่เมื่อมีพลังงานไฟฟ้าป้อนให้ มี2แบบ1.DRAM (sdram ddram) 2.SRAM(cache) 

8. จานบันทึกข้อมูล (Hard disk) ประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน เป็นส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่ บันทึกข้อมูลได้ตั้งแต่ 500 เมกะไบต์ ถึง 80 กิกะไบต์

9. เมกะ ไบต์  เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
  กิ กะไบต์ คำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า "gigabyte" อ่านว่า "กิกะไบต์" ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ) คำว่า "giga" มีค่าเท่ากับ "พันล้าน"
 ส่วน คำว่า "ไบต์" เป็นหน่วยความจำของตัวเลขฐานสองเท่ากับ 8 บิต โดยที่บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล โดยข้อมูลหนึ่งบิตมีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) และ 1 (เปิด) โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit)
  พิก เซล คือ ส่วนหนึ่งที่เล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เป็นส่วนของการแสดงผลภาพบนสื่อดิจิตอลที่มาจากสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์หรือแสดง โดยค่าดิจิตอล พิกเซลเป็นค่าบนอุปกรณ์แสดงผล หรือ ในกล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล (photosensor) และสามารถใช้ในนามธรรมเป็นหน่วยของการวัด(ตัวชี้วัด)ความละเอียดเช่น: 640 x 480 Pixel หมายความว่า มีความละเอียด 307,200 Pixel นั่นเอง
  
10.จอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์
     แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
     เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเลื่อนไปสู่ตำปหน่งต่างๆ ที่ต้องการได้ง่ายบนหน้าจอแสดงภาพ